สำหรับประกาศกำหนดวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่
2) พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ที่ถูกยกเลิกไปนั้น
ไม่มีการห้ามขายในวันออกพรรษา
รวมทั้งยังมีการเปิดให้ขายในโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
เพื่อเป็นการส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวในประเทศไทยและกระตุ้นเศรษฐกิจของภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ทั้งนี้เพื่อรณรงค์ให้พุทธศาสนิกชนทุกคนร่วมกันตั้งสัจจะอธิษฐานรักษาศีล
5
งด-ลด-ละ-เลิกการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเฉพาะในวันพระใหญ่ที่เป็นวันสำคัญพิเศษของชาวพุทธ
ซึ่ง 1 ปี มีเพียง 5 วันเท่านั้น และช่วงตลอด
3 เดือนระหว่างฤดูเข้าพรรษา ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการที่จะเลิกการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
และเพื่อส่งเสริมค่านิยมที่ดีให้แก่สังคมไทย
จากข้อมูลข้างต้นเกิดข้อสงสัยว่าเพราะเหตุใดรัฐบาลจึงมีการกำหนดวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยนำเรื่องวันสำคัญทางพุทธศาสนามาเป็นเกี่ยวข้อง
หากมองในมุมมองของมาร์กซิสต์อาจมองได้ว่า
ศาสนาเปรียบเป็นเครื่องมือของชนชั้นปกครองหรืออาจเรียกว่า “กลไกของรัฐ” (the state apparatus) เพื่อใช้อำนาจในการปกครองชนชั้นอื่นๆได้อย่างกว้างขวางและครอบคลุมมากขึ้น
โดยการควบคุมพลังในทางวัตถุ พลังในการผลิต
รวมทั้งประเด็นทางความคิดและความเชื่อของผู้คนอีกด้วย
รัฐไทยเป็นรัฐที่มีความหลากหลายทางศาสนาฉะนั้นทุกศาสนาควรจะเท่าเทียมกันหมดค่าของมนุษย์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับศาสนา
การนับถือศาสนาเป็นเสรีภาพส่วนบุคคลซึ่งเป็นปัจเจก
คนทุกคนมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาเป็นความเชื่อส่วนบุคคลที่บังคับไม่ได้
และละเมิดเสรีภาพด้านนี้ของผู้อื่น แต่รัฐไทยรณรงค์ให้มีการงดขาย ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
และยังมีอีกหลายประเด็นเรื่องนโยบายและงบประมาณรัฐด้วย รัฐไทยจึงเป็นรัฐศาสนาแบบซ่อนรูป
ในรัฐธรรมนูญมีการออกกฎหมายมาบังคับศาสนาอื่นที่ไม่ใช่พุทธ
เหตุที่ระบอบประชาธิปไตยของไทยมีกฎหมายควบคุม บังคับใช้ ห้ามซื้อ ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงวันพระใหญ่เพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
เนื่องจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นตัวการหนึ่งของความไม่สงบเรียบร้อย
กฎหมายย่อมจัดการเรื่องนี้ให้อยู่ระเบียบอันดีงามของสังคม
อีกทั้งหลักทางศาสนามันสอดคล้องกับหลักกฎหมายในเรื่องนี้ซึ่งคน”ส่วนมาก”ในสังคมมีการนับถือศาสนาพุทธมาตั้งแต่อดีต
การยกศาสนาอันมีเนื้อหาสอดคล้องกับกฎหมายมาช่วยจัดการหรือประชาสัมพันธ์จึงเป็นเรื่องหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นจิตสำนึกแบบเข้าถึงประชาชนได้โดยง่ายเท่านั้นเอง
ในกรณีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มี "ความเมามาย" จากการดื่ม ซึ่งทุกศาสนาล้วนเห็นตรงกันถึงพิษภัยของความเมามาย
ดังนั้นกฎหมายเรื่องนี้มีประโยชน์ต่อสังคมส่วนใหญ่
แต่ศาสนาพุทธมักถูกหยิบยกขึ้นมาเพราะคนส่วนใหญ่นับถือพุทธหรือมีความเข้าใจในบริบทพุทธมากที่สุด
หากมองในความเป็นจริง
ศาสนาเป็นเพียงแค่ภาพลวงตา ไม่มีความสำคัญ ไม่มีหน้าที่ใดๆ นอกเหนือจากการปิดบังและปกคลุมความเลวร้าย
ความเห็นแก่ตัวของชนชั้นปกครองเท่านั้น
ประโยชน์ที่ชนชั้นปกครองได้จากการใช้อำนาจนั้นแลกด้วยการสูญเสียความเสมอภาคและเสรีภาพในชีวิตของคนในสังคม
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยังคงถูกผลิตซ้ำๆเกิดขึ้นเป็นวงจรอยู่ภายในสังคม
และไม่มีท่าทีที่จะหายไปได้เลย
ขณะเดียวยังคงมีการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ในโรงแรมหรู ระดับ 5 ดาว ที่มีแต่เฉพาะคนชนชั้นสูง หรือพวกชนชั้นนายทุนเท่านั้นที่สามารถจะเข้าพักและใช้บริการได้
ซึ่งดูเหมือนว่าจะขัดกับ พรบ.นี้ ที่ยังคงมีช่องโหว่อยู่ แสดงให้เห็นถึงการได้รับผลจาก
พรบ. ที่ไม่เท่าเทียมกันของชนชั้น
ที่ชนชั้นนายทุนได้รับข้อยกเว้นไม่ได้รับผลกระทบจาก พรบ. ยังคงซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ได้ตามปกติ คือการที่รัฐเอื้อผลประโยชน์ให้กับชนชั้นเดียวกัน และใช้ พรบ.
ในการกดขี่สิทธิของคนชนชั้นล่าง และชนชั้นกลาง ในสังคม
นี่แหละที่แสดงให้เห็นว่าชนชั้นสูงใช้รัฐเป็นเครื่องมือหรือกลไกในการกดขี่ทางชนชั้น
ตามความคิดของมาร์ก ทั้งๆที่การซื้อหรือดื่มเป็นสิทธิของทุกคนในสังคม
ไม่ได้หมายความว่าการดื่มแอลกอฮอล์เป็นสิ่งที่ดีหรือสิ่งที่ถูก
แต่ก็ขึ้นอยู่กับความคิดของแต่ละคน
สรุป
การห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาถือเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของรัฐที่พยายามควบคุมคนในรัฐโดยการใช้กฎหมายบังคับ
เพื่อให้เกิดความสงบสุข นอกจากนี้ยังมีประเด็นเกี่ยวกับการกีดกันทางศาสนาทั้งด้านทางตรงและทางอ้อม
ดังนั้นเมื่อรัฐไทยเป็นรัฐที่มีความหลากหลายทางศาสนาแต่มีกฎหมายบังคับใช้
อาจมองว่า “ศาสนา” เป็นเครื่องมือรัฐที่ใช้ควบคุมประชาชนผู้นับถือจำนวนมากในรัฐ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องต่อความต้องการของรัฐ
โดยที่รัฐไม่ได้สนใจศาสนาอื่นหรือผู้ที่ไม่นับถือศาสนา เช่น นักดนตรีที่เล่นในผับ
เล่นดนตรีทุกวันแล้วหยุดเล่นในวันสำคัญทางศาสนา ทำให้นักดนตรีอาจขาดรายได้ที่ไปจุนเจือครอบครัว
เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงรัฐไทยมีความย้อนแย้งในตัวบทกฎหมายเองทั้งเรื่องโสเภณี
ยาเสพติด คนชายขอบที่ยังไม่มีความชัดเจน
แต่รัฐให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องศาสนาเช่นนี้
อาจแปลได้ว่ารัฐได้ใช้ศาสนาเข้ามาควบคุมประชาชน เพียงเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยภายในรัฐ?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น