เกิด ค.ศ. 1818 ประเทศเยอรมนี
ในตระกูลชนชั้นกลาง เชื้อสายเยอรมันยิว
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก
สาขาวิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยจีนา เมื่อ ค.ศ. 1841
หลังจบการศึกษาได้ยึดอาชีพนักเขียน
และบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ขณะเดียวกันได้ให้ความสนใจ และมีส่วนร่วมในกิจกรรมปฏิวัติต่าง
ๆ จึงทำให้ชีวิตของเขาต้องระเหเร่ร่อน และลี้ภัยในประเทศต่างๆ ได้แก่ เยอรมนี
ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม และอังกฤษ
จนวาระสุดท้ายของชีวิตใน ค.ศ.1883 ชีวิตของมาร์กซ์อยู่ท่ามกลางความเฟื่องฟูของลัทธินายทุน
เป็นผลมาจากการปฏิวัติทางการค้า และอุตสาหกรรม ที่มีนายทุนจะทำหน้าที่ควบคุมและผูกขาดการผลิตในทางเศรษฐกิจ
และเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตในทุกด้าน แต่กรรมกรผู้ใช้แรงงานกลับถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายทุน
ทัศนคติของมาร์กซ์จึงกลายเป็นแรงกระตุ้นให้เขาเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับการปฏิวัติสังคมเพื่อการมีชีวิตที่ดีขึ้นของชนชั้นผู้ใช้แรงงาน
ปรัชญาการเมืองของมาร์กซ์ หรือที่เรียกว่า มาร์กซิสม์ (Marxism)
เป็นการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
โดยการพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันทางสังคมกับพลังทางเศรษฐกิจ
โดยใช้ทฤษฏีวิภาษวิธี-วัตถุนิยม (dialectical materialism) ซึ่งเขาได้รับอิทธิพลมาจาก
เฮเกล (Hegel) เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์
อาจกล่าวได้ว่ามาร์กซิสม์เป็นทั้งปรัชญาทางการเมือง ปรัชญาทางเศรษฐกิจ และกลยุทธ์ในการปฏิวัติสังคม
ลัทธิมาร์กซ์มุ่งวิจารณ์วิถีแห่งการผลิตแบบนายทุนที่มีลักษณะกดขี่ผู้ใช้แรงงาน
และอธิบายถึงกลยุทธ์ของการปฏิวัติสังคม
กลยุทธ์ในการล้มล้างลัทธินายทุนโดยการต่อสู้ทางชนชั้นเพื่อนำไปสู่สังคมคอมมิวนิสต์
ผลงานสำคัญ
ผลงานสำคัญ
1.
ปัญหาชาวยิว (On the Jewish Question) อุดมการณ์เยอรมัน (The
German Ideology)
2.
ความอับจนของปรัชญา (The Poverty of Philosophy)
3.
คำประกาศเจตนาคอมมิวนิสต์ (The Communist Manifesto)
4.
การปฏิวัติของหลุยส์โบนาปาร์ต (The Eighteenth Brumaire of Louis Bonaparte)
5.
ทุน (ทุน: บทวิพากษ์ทางเศรษฐศาสตร์การเมือง และชื่อภาษาเยอรมันว่า Das Kapital)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น